วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

สัญญายืม

ยืม

              ยืมเป็นสัญญาชนิดหนึ่งที่ประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์จัดไว้ว่าเป็นเอกเทศสัญญา แต่ไม่มีบทเบ็ดเสร็จทั่วไปเหมือนกับเอกเทศสัญญาลักษณะอื่นๆ เช่น ค้ำประกันหรือจำนอง และเนื้่องจากสัญญายืมเป็นนิติกรรม 2 ฝ่ายจึงต้องนำกฏหมายลักษณะนิติกรรมและหนี้มาใช้ด้วย การปฎิบัติและวินิจฉัยถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญายืมจะต้องคำนึงในเรื่องดังต่อไปนี้ 

1 เจตนาของคู่สัญญา
2 ความสามารถในการทำนิติกรรม
3 วัตถุประสงค์ของนิติกรรม



  เจตนาของคู่สัญญา 
สัญญายืมเป็นนิติกรรม 2 ฝ่าย เกิดขึ้นโดนการแสดงเจตนาขงบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเมื่อเป็นนิติกรรมแล้วต้องเป็นไปตามบทบัญญัติตามประมวลกฏหมายแพ่งละพานิชย์ในส่วนของนิติกรรม ซึ่งจากการที่จะเป็นสัญญายืมได้นั้นจะต้องเป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาโดยมุ่งตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์กัน 1

  ความสามารถในการทำนิติกรรม 
สัญญายืมเป็นนิติกรรม 2 ฝ่ายเป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่ 2 บุคคลขึ้นไปบุคคลที่ทำสัญญาต้องมีความสามารถหากบุคคลที่ทำนิติกรรมไม่มีความสามารถแล้วนั้นนิติกรรมจะตกเป็นโมฆียะ ซึ่งสัญญาที่เป็นโมฆียะนั้นยังคงใช้ได้จนกว่าจะถุกบอกล้างตามที่ประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์วางหลักไว้  หากกรณีที่นิติบุคคลเป็นคู่สัญญาโดยสภาพแล้วนิติบุคคลไม่เป็น ผู้เยาว์ไม่เป็นผู้ไร้ความสามารถหรือ เสมือนไร้ความสามารถแต่การกระทำของนิติบุคคลจะต้องอยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น 2

วัตถุประสงค์ของนิติกรรม
สัญญายืมจะใช้บังคับได้ต้องเป็นไปตามมาตรา 150 3 คือ มีวัตถุประสงค์ไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฏหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และหากคู้สัญญาอีกฝ่ายนึงก็รู็ถึงวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฏหมายนั้นสัญญาจะเป็นโมฆะ

ซึ่งสัญญายืมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.ยืมใช้คงรูป
2.ยืมใช้สิ้นเปลือง




ยืมใช้คงรูป  

จากประมวลหฎหมายแพ่งพาณิชย์ได้วางหลักไว้ว่า

          มาตรา 640 อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สิน สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่าและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ ใช้สอยเสร็จแล้ว 4

          มาตรา 641 การให้ยืมใช้คงรูปนั้นท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่ง มอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม 5

  จึงทำให้ลักษณะของสัญญายืมใช้คงรูปมีอยู่ 4 ประการคือ

       1. เป็นสัญญาที่มีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สิน ซึ่งวัตถุแห่งสิทธิตามสัญญายืมใช้คงรูปอาจจะเป็นของที่มีรูปร่างก็ได้หรือไม่มีรูปร่างก็ได้แต่จะต้องคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว

       2.เป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน จากมาตรา 640 "ใช้สอยทรัพย์สิน สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า" สัญญายืมจึงเป็นสัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทนซึ่งมีผลให้ต้องถือเอาตัวผู้ยืมเป็นสาระสำคัญ 6

       3.เป็นสัญญาที่ไม่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม เพราะเมื่อใช้สอยเสร็จแล้วต้องคืนทรัพย์สินแก่ผู้ให้ยืมตามมาตา 640 ทีี่ได้วางหลังไว้

      4.เป็นสัญญาที่บริบรูณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม จากหลังในมาตรา 641 "การให้ยืมใช้คงรูปนั้นท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่ง มอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม"  คำว่าไม่บริบูรณ์ตามมาตรานี้มีความหมายว่าตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ให้ยืมสัญญาก็ไม่เป็นโมฆะ แต่ยังใช้ไม่ได้ยังไม่เกิดสิทธิหน้าที่ตามสัญญาเมื่อใดก็ตามที่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ให้ยืมสัญญาก็จะครบถ้วนสมบูรณ์ คู่สัญญาจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในสัญญา







ยืมใช้สิ้นเปลือง

           มาตรา 650 อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งให้ยืมโอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น เป็นปริมาณมีกำหนดให้ ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิดและ ปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น
           สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม 7

       จากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้เห็นว่าสัญญายืมสิ้นเปลืองมีลักษณะดังต่อไปนี้

      1.เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน  ผู้ยืมเท่านั้นที่จะมีหนี้และจะต้องปฏิบัติต่อผู้ให้ยืมผู้ให้ยืมไม่มีหนี้ที่จะต้องปฏบัติตามสัญญายืม การส่งมอบทรัพย์ที่ยืมให้แก่ผู้ยืมเป็นการกระทำที่ทำให้สัญญายืมนั้นบริบูรณ์ ไม่ใช่หนี้ตามสัญญา แม้เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทนแต่สัญญายืมใช้สิ้นเปลืองอาจเป็นสัญญามีค่าตอบแทนได้ เช่น ให้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ย
      2.เป็นสัญญาที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม  ซึ่งทำให้เกิดผลหลายประการดังนี้
-ผู้ให้ยืมใช้สิ้นเปลองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ให้ยืม เพราะถ้าไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินก็ไม่มีสิทธิที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ยืมได้
-กรณีที่เกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์สินที่ยืม เมื่อมีภัยพิบัติเกิดแก่ทรัพย์สินที่ยืมความเสียหายนั้นตกแก่ผู้ยืม
      3.วัตถุแห่งหนี้ตามสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองต้องเป็นทรัพย์ชนิดใช้ไปสิ้นไป 
      4.เป็นสัญญาที่บริบรูณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม ตามมาตรา 650 วรรคสอง




_____________________________________________________________________
1 อาจารย์อนันต์  วงษ์ประภารัตน์. รวมคำบรรยายวิชากฏหมายยืม ค้ำประกันจำนองจำนำ,สำนักอบรมศึกษากฏหมายแห่งเนติ        บัณฑิตสภา,2545
2 อาจารย์อนันต์  วงษ์ประภารัตน์. รวมคำบรรยายวิชากฏหมายยืม ค้ำประกันจำนองจำนำ,สำนักอบรมศึกษากฏหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา,2545
3 มาตรา150 http://www.kodmhai.com/m2/m2-4/m4-149-153.html
4 มาตรา640 http://www.kodmhai.com/m2/m2-4/m4-640-649.html
5 มาตรา641 http://www.kodmhai.com/m2/m2-4/m4-640-649.html
http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/42010/42010-34.htm
7 มาตรา650 http://www.kodmhai.com/m2/m2-4/m4-650-656.html

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บรรณานุกรรม
อาจารย์อนันต์  วงษ์ประภารัตน์. รวมคำบรรยายวิชากฏหมายยืม ค้ำประกันจำนองจำนำ,สำนักอบรมศึกษากฏหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา,2545
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%A1_(%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2)
http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/42010/42010-34.htm
http://hlinzaii.50webs.com/law9.htm
http://www.kodmhai.com/m2/m2-4/thailaw2-4.html
http://life.cpru.ac.th/E%20leaning/01%20Business%20Law/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%203.htm